วันพฤหัสบดีที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557
Moodle
Moodle คืออะ ไร ?
Moodle ย่อมาจาก Modular Object-Oriented Dynamic Learning Environment คือ ระบบจัดการเรียนการสอนในระบบออนไลน์ให้มีบรรยากาศเหมือน เรียนในห้องเรียน หรือเรียกว่าLMS (Learning Management S ystem) หรือระบบจัดคอร์สการเรียนการสอน CMS(Course Management System ผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต อินทราเน็ต สำหรับสถาบันการศึกษา หรือครู ใช้เพื่อเตรียมแหล่งข้อมูล กิจกรรม และเผยแพร่แบบออนไลน์ผ่านอินเทอร์เน็ต หรืออินทราเน็ต Moodle สามารถนำไปใช้ได้ ทั้งองค์กรระดับ มหาวิทยาลัย โรงเรียน สถาบัน หรือครูสอนพิเศษ โปรแกรมชุดนี้เป็น Open Source ภายใต้ข้อตกลงของ gnu.org (General Public License) สามารถ download ได้ฟรีจาก http://moodle.org ผู้พัฒนาโปรแกรมคือ Martin Dougiamas สถาบันการศึกษาใดต้องการนำไปใช้ จัดระบบการเรียนการสอน จะต้องอาศัยผู้ดูแลระบบ( Admin) ที่ความสามารถในการติดตั้ง โดยที่ต้องมี Web Server ที่บริการภาษา php และ mysql
ความสามารถของ moodle
1. เป็นโปรแกรมจัดการเรียนการสอนผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ประเภทฟรีแวร์ ที่ได้รับการยอมรับกันทั่วโลก
2. สามารถเป็นได้ทั้ง CMS (Course Management System) และ LMS (Learning Management System) ช่วยรวบรวมวิชาเป็นหมวดหมู่ เผยแพร่เนื้อหา ของผู้สอน พร้อมบริการให้นักเรียนเข้ามาศึกษา และบันทึกกิจกรรมของนักเรียน
3. สามารถสร้างแหล่งข้อมูลใหม่ หรือเผยแพร่เอกสารที่ทำไว้ เช่น Microsoft Office, Web Page, PDF หรือ Image เป็นต้น ใจกว้าง ไม่หวงวิชา มีเอกสารที่เคยรวบรวมไว้ ก็ส่งเข้าไปเผยแพร่ได้โดยง่าย
4. มีระบบติดต่อสื่อสาร ระหว่างนักเรียน เพื่อนร่วมชั้น และผู้สอน เช่น chat หรือ webboard เป็นต้น นักเรียนฝากคำถาม ครูทิ้งคำถามไว้ ครูนัดสนทนาแบบออนไลน์ ครูนัดสอนเสริม หรือแจกเอกสารให้อ่านก่อน เข้าเรียน ก็ได้
5. มีระบบแบบทดสอบ รับการบ้าน และกิจกรรม ที่รองรับระบบ ให้คะแนนที่หลากหลาย ให้ส่งงาน ให้ทำแบบฝึกหัด ตรวจให้คะแนนแล้ว export ไป excel
6. สำรองข้อมูลเป็น . zip แฟ้มเดียว ในอนาคตสามารถนำไปกู้คืน ลงไปในเครื่องใดก็ได้ ข้อมูลประกอบการตัดสินใจเลือกใช้ Moodle
• องค์ประกอบของ moodle ที่โรงเรียนควรมี
1. มี Web Browser เช่น Internet explorer ในการติดต่อกับ moodle ทั้งโดยครูผู้สอนและนักเรียน
2. มี Web Server ที่ให้บริการ php และ mysql
3. มี ผู้ติดตั้ง ผู้ดูแล และบำรุงรักษา ควรทำโดยนักคอมพิวเตอร์ ที่ที่มีประสบการณ์ เกี่ยวกับการติดตั้ง การบำรุงรักษา และการเขียนเว็บ
4. มี ครู นักเรียน และผู้บริหาร ที่ยอมรับในเทคโนโลยีสมัยใหม่ ดังนั้น moodle ไม่เหมาะกับเด็กอนุบาล หรือครูที่ไม่มีไฟ
5. มี การเชื่อมต่อเป็นระบบเครือข่าย เช่น อินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต ( LAN)
ผู้ที่เกี่ยวข้องกับ Moodle
1. ผู้ดูแลระบบ (Admin) : ติดตั้งระบบ บำรุงรักษา กำหนดค่าเริ่มต้น และกำหนด สิทธ์การเป็นครูผู้สอน
2. ผู้สอน ( Teacher) : เพิ่มแหล่งข้อมูล เพิ่มกิจกรรม ให้คะแนน ตรวจสอบกิจกรรมผู้เรียน ตอบคำถาม และติดต่อสื่อสาร
3. ผู้เรียน ( Student) : เข้าศึกษาแหล่งข้อมูล และทำกิจกรรม ตามแผนการสอน
4. ผู้เยี่ยมชม ( Guest) : เข้าเรียนได้เฉพาะวิชาที่อนุญาต และจำกัดสิทธ์ ในการทำกิจกรรม
แหลงขอมูล หรือกิจกรรม (Resource and Activities)
1. Wiki (สารานุกรม ที่ยอมใหผูเรียนเขามาแกไข)
2. อภิธานศัพท (Glossary : รวมคําศัพท จัดหมวดหมู สามารถสืบคนได)
3. หองสนทนา (Chat : หองที่สามารถนัดเวลาสนทนาระหวางครู และนักเรียน)
4. กระดานเสวนา (Forum : กระดานใหครู และนักเรียนเขามาฝากความคิดเห็น)
5. การบาน (Assignment : ที่นกเรั ียนพิมพงานแลวนํามา upload สงครู)
6. หองปฏิบัติการ (Workshop : ที่นักเรียนทํางาน แลวสง ซึ่งประเมินไดหลายแบบ)
7. ปายประกาศ (Label : แสดงขอความ เพื่อประกาศใหทราบ)
8. แบบทดสอบ (Quiz : สรางคลังขอสอบ แลวเลือกมาใหทําบางสวน ระบบสามารถอัตโนมัติ)
9. โพลล (Poll : แสดงความคิดเห็นตามตัวเลือก)
10. แหลงขอมูล (Resources : text, html, upload, weblink, webpage, program)
กิจกรรมของผูสอน (Teacher Activities)
1. ผูสอนสรางคอรส และกําหนดลักษณะของคอรสดวยตนเอง
2. เพิ่ม เอกสาร บทเรียน และลําดับเหตุการณตามความเหมาะสม
3. ประกาศขาวสาร หรือนัดสนทนา กับนักเรียนผานอินเทอรเน็ต
4. สามารถสํารองขอมูลในวิชา เก็บเปนแฟมเพียงแฟมเดียวได
5. สามารถกูคืนขอม ูลที่เคยสํารองไว หรือนําไปใชในเครื่องอื่น
6. สามารถดาวนโหลดคะแนนนักเรียนที่ถูกบันทึกจากการทํากิจกรรม ไปใชใน Excel
7. กําหนดกลุมนักเรียน เพื่อสะดวกในการจัดการนักเรียนจํานวนมาก
8. สั่งยกเลิกการเปนสมาชิกในวิชา ของนักเรียนที่มีความประพฤติไมเหมาะสม หรือเขาผิดวิชา
9. ตรวจสอบกิจกรรมของนักเรียนแตละคน เชน ความถี่ในการอานแตละบท หรือคะแนนในการสอบแตละบท
10. เพิ่มรายการนัดหมาย หรือกิจกรรม แสดงดวยปฏิทิน
11. สรางเนื้อหาใน SCORM หรือสรางขอสอบแบบ GIFT แลวนําเขาได
กิจกรรมของผูเรียน (Student Activities) สมัครสมาชิกดวยตัวนักเรียนเอง
1. รออนุมัติการเปนสมาชิก และสมัครเขาเรียนแตละวิชาดวยตนเอง (บางระบบ สามารถสมัคร
และเขาเรียนไดทันที)
2. อานเอกสาร หรือบทเรียน ที่ผูสอนกําหนดใหเขาไปศึกษาตามชวงเวลาท่เหมาะสม ี
3. ฝากคําถาม หรือขอคิดเห็น หรือนัดสนทนาระหวางเพื่อน ผานเครือขายอินเทอรเน็ต
4. ทํากิจกรรมตามที่ไดรับมอบหมาย เชน ทําแบบฝกหัด หรือสงการบาน
5. แกไขขอมูลสวนตัวของตนเองได
6. อานประวัติของครู เพื่อนนักเรียนในชั้น หรือในกลุม
อ้างอิง : http://banlat.ac.th/web/home/computer/cai/cai/moodle.htm
http://learn.pbru.ac.th/file.php/1/What_is_Moodle.pdf
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น