วันพฤหัสบดีที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

U-Learning

U-Learning (Ubiquitous Learning) คืออะไร Ubiquitous Learning คือ การจัดการเรียนการสอนหรือบทเรียนสำเร็จรูป (Instruction Package) ..... ที่นำเสนอเนื้อหาและกิจกรรมการเรียนการสอนผ่านเทคโนโลยีเครือข่ายทั้งแบบใช้สายและไร้สาย รวมไปถึงพวกอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ในการประมวลผลแบบไร้ขอบเขต ผู้เรียนสามารถเรียนได้ทุกที่และทุกเวลาแท้ที่จริงแล้ว น่าจะมาจากคำว่า Ubiquitous e-learning แต่ e- ได้ถูกตัดหายไป เนื่องจากเป็นการเรียนรู้ที่เป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินชีวิต ซึ่งเกี่ยวพันธ์กับวิธีการเรียนหลากหลายแบบรวมกัน ทั้งแบบดังเดิมและการใช้เทคโนโลยีด้าน สารสนเทศด้วย ลักษณะของ U-Learning 1. Anywhere, Anytime and Anybody คือ ผู้เรียนจะเป็นใครก็ได้มาจากที่ใดก็ได้และเรียนเวลาใดก็ได้ตามความต้องการของผู้เรียนเพราะหน่วยงานได้เปิดเว็บไซต์ให้บริการตลอด 24 ชั่วโมง 2. Multimedia สื่อ ที่นำเสนอในเว็บประกอบด้วยข้อความ ภาพนิ่ง ภาพเคลื่อนไหวและเสียง ตลอดจนวีดิทัศน์อันจะช่วยกระตุ้นการเรียนรู้ของผู้เรียนได้เป็นอย่างดี 3. Non-Linear ผู้เรียนสามารถเลือกเรียนเนื้อหาที่นำเสนอได้ตามความต้องการ 4. Interactive ด้วยความสามารถของเอกสารเว็บที่มีจุดเชื่อม Links ย่อมทำให้เนื้อหามีลักษณะโต้ตอบกับผู้ใช้โดยอัตโนมัติอยู่แล้วและผู้เรียนยังเพิ่มส่วนติดต่อกับวิทยากรผ่านระบบเมล์ทำให้ผู้เรียนกับวิทยากรสามารถติดต่อกันได้อย่างรวดเร็ว ลักษณะที่สำคัญ และการนำมาประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอน e-learning นับตั้งแต่การคิดค้นอินเตอร์เน็ตและเว็บไซต์ กระบวนการเรียน (Education Process) พัฒนาการในวงการการศึกษาได้พัฒนาควบคู่ไปกับวิวัฒนาการทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งส่งผลให้เกิดการเรียนรู้แบบไร้ขอบเขต (Ubiquitous Learning) ในลักษณะทุกที่ ทุกเวลา การเรียนเกิดขึ้นรอบตัวผู้เรียน เพราะข้อมูลสารสนเทศได้รวมไว้ในอุปกรณ์ต่างๆ ขอเพียงผู้เรียนพร้อมที่จะเรียน โดยเรียกความสัมพันธ์ของมนุษย์กับเทคโนโลยีคอมพิวเตอร์ว่า เป็นแบบ Many to one relationship (Weiser, 1993) ซึ่งเป็นความสัมพันธ์แบบสามัญและเกี่ยวพันธ์กับ Ubiquitous Computing ข้อดี และข้อจำกัดของ Ubiquitous Learning ข้อดีของ Ubiquitous Learning • Adaptive learning เป็นการเรียนรู้ที่ปรับวิธีการให้ตรงกับรูปแบบการเรียนรู้ของผู้เรียน การสอนที่ปรับให้เข้ากับผู้เรียนทำให้เกิดการเรียนรู้ได้รวดเร็ว ประสิทธิภาพสูงและเข้าใจได้มากกว่า เช่น การติดตามกิจกรรมการเรียนของผู้เรียน การแปรผล และใช้ข้อมูลใหม่ๆ เสริมกระบวนการเรียน (Paramythis and Loidl-Reisinger, 2004) • Ubiquitous Learning Environment (ULE) เป็นสถานการณ์การเรียนรู้แบบ pervasive (omnipresent education or learning) การเรียนเกิดขึ้นรอบตัวนักเรียนโดยนักเรียนอาจไม่รู้ตัว ข้อมูลได้รวมไว้ในอุปกรณ์ต่างๆ ขอเพียงนักเรียนพร้อมที่จะเรียน ที่จริงแล้ว น่าจะมาจากคำว่า Ubiquitous e-learning แต่ e- ได้ถูกตัดหายไป เนื่องจากเป็นการเรียนรู้ที่เป็นส่วนหนึ่งของการดำเนินชีวิต ซึ่งเกี่ยวพันธ์กับวิธีการเรียนหลากหลายแบบรวมกัน ทั้งแบบดังเดิมและการใช้เทคโนโลยีด้านสารสนเทศด้วย • การเชื่อมต่อกับเครือข่ายไม่ว่าผู้ใช้งานจะเคลื่อนย้ายไปยังสถานที่ต่างๆ • การให้บริการที่สามารถเปลี่ยนไปตามสถานการณ์ทั้งสถานที่ อุปกรณ์ปัจจัยทางกายภาพอื่นๆ • การบูรณาการ U-learning นั้นทำให้เกิดประโยชน์ต่อประสบการณ์การเรียนแบบกลางแจ้ง (outdoor) และการเรียนในร่ม (indoor) ตัวอย่างการเรียนกลางแจ้งได้แก่ ในสวน ศูนย์กลางของเมือง ในป่า ส่วนการเรียนในร่ม ได้แก่ ในพิพิธภัณฑ์ ศูนย์การเรียนรู้ ห้องปฏิบัติการ หรือที่บ้าน UK Equator Interdisciplinary Research Collaboration ประเทศอังกฤษ ได้ทำการศึกษา Digital Augmentation เพื่อเชื่อมกระบวนการเรียนรู้ในสถานที่จริงและการเรียนในห้องเรียน โดยเลือกวิชานิเวศวิทยาสำหรับนักเรียนระดับประถมปลาย ศึกษานิเวศวิทยาองป่า เครื่องมือต่างๆ ที่ใช้ เช่น PDA กล้องส่องทางไกล การถ่ายภาพทางอากาศ คอมพิวเตอร์ เครื่องอัดเสียงและกระจายเสียง เครื่องมือติดตามนักเรียนขณะทำการทดลอง นักเรียนเก็บข้อมูลจริง โดยส่งข้อมูลที่ได้ผ่าน PDA และกลับมานำเสนอสิ่งที่ค้นพบเทียบกับข้อมูลในห้องเรียน และพบว่าการออกแบบกระบวนการเรียนสามารถทำให้ประสบการณ์การเรียนรู้ของผู้เรียนกว้างขึ้น และเชื่อมการเรียนในห้องเรียนกับชิวิตจริงได้ ข้อจำกัดของ Ubiquitous Learning • ระบบเชื่อมโยงเครือข่ายเพื่อให้ครอบคลุมถึงขนาด Ubiquitous ต้องใช้การลงทุนสูงมาก • จำนวนผู้ใช้บริการ และผู้ที่มีความสามารถในการเข้าถึงเทคโนโลยีดังกล่าว ยังน้อย ไม่คุ้มค่าการลงทุน

LMS และ CLMS

CMS และ LMS CMS คืออะไร ความหมายของ Content Management System (CMS) ระบบการจัดการเนื้อหาของเว็บไซต์ (Content Management System : CMS) คือ ระบบที่พัฒนา คิดค้นขึ้นมาเพื่อช่วยลดทรัพยากรในการพัฒนา(Development) และบริหาร(Management)เว็บไซต์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของกำลังคน ระยะเวลา และเงินทอง ที่ใช้ในการสร้างและควบคุมดูแลไซต์โดยส่วนใหญ่แล้ว มักจะนำเอา ภาษาสคริปต์(Script languages) ต่างๆมาใช้ เพื่อให้วิธีการทำงานเป็นแบบอัตโนมัติ ไม่ว่าจะเป็น PHP, Perl, ASP, Python หรือภาษาอื่นๆ(แล้วแต่ความถนัดของผู้พัฒนา) ซึ่งมักต้องใช้ควบคู่กันกับโปรแกรมเว็บเซิร์ฟเวอร์(เช่น Apache) และดาต้าเบสเซิร์ฟเวอร์(เช่น MySQL) ลักษณะเด่นของ CMS ก็คือ มีส่วนของ Administration panel(เมนูผู้ควบคุมระบบ) ที่ใช้ในการบริหารจัดการส่วนการทำงานต่างๆในเว็บไซต์ ทำให้สามารถบริหารจัดการเนื้อหาได้อย่างรวดเร็ว และเน้นที่การ จัดการระบบผ่านเว็บ(Web interface) ในลักษณะรูปแบบของ ระบบเว็บท่า(Portal Systems) โดยตัวอย่างของฟังก์ชันการทำงาน ได้แก่ การนำเสนอบทความ(Articles), เว็บไดเรคทอรี(Web directory), เผยแพร่ข่าวสารต่างๆ(News), หัวข้อข่าว(Headline), รายงานสภาพดินฟ้าอากาศ(Weather), ข้อมูลข่าวสารที่น่าสนใจ(Informations), ถาม/ตอบปัญหา(FAQs), ห้องสนทนา(Chat), กระดานข่าว(Forums), การจัดการไฟล์ในส่วนดาวน์โหลด(Downloads), แบบสอบถาม(Polls), ข้อมูลสถิติต่างๆ(Statistics) และส่วนอื่นๆอีกมากมาย ที่สามารถเพิ่มเติม ดัดแปลง แก้ไขแล้วประยุกต์นำมาใช้งานให้เหมาะสมตามแต่รูปแบบและประเภทของเว็บไซต์นั้นๆ ตัวอย่างของเว็บที่สร้างจาก CMS •Slashdot=>พัฒนาด้วย Perl Zope=>พัฒนาด้วย Python PHP-Nuke =>พัฒนาด้วย PHP Joomla =>พัฒนาด้วย PHP ได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน การประยุกต์ใช้ CMS ระบบ CMS สามารถนำมาประยุกต์ในงานต่างๆ หลากหลาย ตัวอย่างการนำซอฟต์แวร์ CMS มาประยุกต์ใช้งาน อาทิเช่น >> การนำ CMS มาใช้ในการสร้างเว็บไซต์สถาบันการศึกษา ธุรกิจบันเทิง หนังสือพิมพ์ การเงิน การธนาคาร หุ้นและการลงทุน อสังหาริมทรัพย์ งานบุคคล งานประมูล สถานที่ท่องเที่ยว งานให้บริการลูกค้า >> การนำ CMS มาใช้ในหน่วยงานของรัฐ อาทิเช่น งานข่าว งานประชาสัมพันธ์ การนำเสนองานต่างๆ ขององค์กร >> การใช้ CMS สร้างไซต์ ส่วนตัว ชมรม สมาคม สมาพันธ์ โดยวิธีการแบ่งงานกันทำ เป็นส่วนๆ ทำให้ เกิดความสามัคคี ทำให้มีการทำงานเป็นทีมเวิร์คมากยิ่งขึ้น >> การนำ CMS มาใช้ในการสร้างเว็บไซต์สำหรับธุรกิจ SME โดยเฉพาะสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ หรือ OTOP กำลังได้รับความนิยมสูง >> การนำ CMS มาใช้แทนโปรแกรมลิขสิทธิ์ อื่นๆ เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย และง่ายต่อการพัฒนา >> การใช้ CMS ทำเป็น Intranet Web Site สร้างเว็บไซต์ใช้ภายในองค์กร ที่มาจากhttp://www.proline.co.th/forum/index.php?topic=147.0 LMS คืออะไร LMS ย่อมาจาก Learning Management System เป็นระบบที่ใช้บริหารจัดการการเรียนรู้ที่อำนวยความสะดวกในการจัดกลุ่มเนื้อหาและกิจกรรมการเรียนรู้ การสื่อสารโต้ตอบระหว่างผู้สอน (Instructor/Teacher) กับผู้เรียน(Student) รวมทั้งการสร้างแบบทดสอบ การทดสอบและการประเมินผลบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยโปรแกรมที่ใช้สร้างระบบ LMS ในปัจจุบันมีให้เลือกอยู่ 2 ลักษณะคือ 1.ซอฟต์แวร์ฟรี (Open Source LMS) ที่มีลิขสิทธิ์แบบ GPL เช่น Claroline (www.claroline.net), LearnSquare (www.learnsquare.com), VClasswww.vclass.net), Sakai (www.sakaiproject.org), ILIAS (http://www.ilias.de) 2. ซอฟต์แวร์ที่บริษัทเอกชนพัฒนาเพื่อขายโดยเฉพาะ (Commercial LMS) เช่น • Blackboard Learning System ตัวอย่างการใช้งานที่ Sasin Chula , WebCT (www.webct.com) , IBM Lotus Learning Management System , Education Sphere (www.educationsphere.com) - Sum Systems Management Co., Ltd. , Dell Learning System (DLS) > www.dell.com ,De-Learn (www.de-learn.com) - Data E-Learning Co., Ltd. , i2 LMS (www.progress-info.co.th) - Progress Information Co.,Ltd การนำระบบ LMS ไปประยุกต์ใช้งาน ระบบ LMS สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้อย่างหลากหลายอาทิ สถาบันการศึกษา ศูนย์ฝึกอบรม หน่วยงานราชการ บริษัทเอกชน โดยในการนำไปใช้งานผู้ใช้สามารถ ปรับการใช้งานให้เหมาะสมกับหน่วยงาน จุดประสงค์หลักในการพัฒนาระบบขึ้นมาก็เพื่อสร้างระบบการเรียนรู้ใช้งานในหน่วยงานทั้งระบบ E-Learning หรือระบบ Knowledge Management(KM) ผู้ใช้งานในระบบ LMS สำหรับผู้ใช้งานในระบบ LMS นั้นสามารถที่จะแบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม คือ • กลุ่มผู้บริหารระบบ (Administrator) ทำหน้าที่ในการติดตั้งระบบ LMS การกำหนดค่าเริ่มต้นของระบบ การสำรองฐานข้อมูล การกำหนดสิทธิ์การเป็นผู้สอน • กลุ่มอาจารย์หรือผู้สร้างเนื้อหาการเรียน (Instructor / Teacher) : ทำหน้าที่ในการเพิ่มเนื้อหา บทเรียนต่างๆ เข้าระบบ อาทิ ข้อมูลรายวิชา ใบเนื้อหา เอกสารประกอบการสอน การประเมินผู้เรียนโดยใช้ข้อสอบ ปรนัย อัตนัย การให้คะแนน ตรวจสอบกิจกรรมผู้เรียน ตอบคำถาม และสนทนากับนักเรียน • กลุ่มผู้เรียน(Student/Guest) : หมายถึงนักเรียน นักศึกษา ที่สมัครเข้าเรียนตามหัวข้อต่าง ๆ รวมทั้งการทำแบบฝึกหัด ตามที่ได้รับมอบหมายจากผู้สอน โดยอาจารย์สามารถทำการแบ่งกลุ่มผู้เรียนได้ และสามารถตั้งรหัสผ่านในการเข้าเรียนแต่ละวิชาได้ มาตรฐานระบบ E-Learning กระทรวงกลาโหมสหรัฐอเมริกา(DOD) ได้ศึกษาปัญหาของความไม่เข้ากัน (Incompatibility) ของระบบอีเลิร์นนิ่ง และเนื้อหาวิชา ที่พัฒนาแตกต่าง แพลตฟอร์มกัน ไม่สามารถใช้ร่วมกันได้ ทางกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ จึงรวบรวมข้อกำหนด ที่พัฒนาก่อนหน้ามาเข้าด้วยกัน ทั้งของ IMS และ AICC เพื่อที่จะออกเป็นข้อกำหนด อีเลิร์นนิ่งกลาง และมีการตั้งหน่วยงานร่วมมือกันระหว่างกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ หน่วยงานรัฐบาล ภาคเอกชนและภาคการศึกษา จัดตั้งสถาบันที่เรียกว่า ADL (Advanced Distributed Learning) เมื่อปี 1997 และได้ออกข้อกำหนดแรกในเวอร์ชั่น 1.0 เมื่อปี 2000 แต่เวอร์ชั่นที่ประสบความสำเร็จเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปคือ ข้อกำหนด SCORM Version 1.2 ซึ่งออกเมื่อเดือนตุลาคมปี 2001 ดังนั้นในการสร้างระบบ LMS ขึ้นมาไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาระบบขึ้นมาใช้งานเอง ซื้อจากบริษัทเอกชน หรือใช้ซอฟต์แวร์สำเร็จรูปประเภท Open Source จำเป็นต้องยึดตามมาตรฐานกลางคือ SCORM (Sharable Content Object Reference Model) คำศัพท์ที่เกี่ยวข้อง • CAI (Computer Assisted Instruction) คอมพิวเตอร์ช่วยสอน • CBT (Computer Based Training) คอมพิวเตอร์ช่วยในการอบรม • WBI (Web Based Instruction) เว็บช่วยสอน • WBT (Web Based Training) เว็บช่วยในการอบรม • CMS (Content Management System) ระบบบริหารจัดการเนื้อหาบนเว็บไซต์ •LMS (Learning Management System) ระบบบริหารจัดการการเรียนการสอนออนไลน์ • LCMS (Learning Management System) CMS+LMS ระบบบริหารจัดการจัดการเนื้อหาและการเรียนการสอนออนไลน์ • KMS (Knowledge Management System) ระบบบริหารจัดการองค์ความรู้ในองค์กร LCMS : Learning Content Management System Learning Content management system คือระบบจัดการจัดการเนื้อหาการเรียนรู้ เป็นระบบที่มีการบูรณาการในส่วนเครื่องมือการสร้างและจัดการเนื้อหาในระบบ ซึ่งเป็นระบบที่จะช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้สอนและผู้เรียนในการจัดการสอน ช่วยให้ผู้สอนพัฒนาเนื้อหาออนไลน์เพื่อการนำเสนอในรูปแบบที่เป็นโครงสร้างสามารถปรับเปลี่ยนได้ ช่วยให้ผู้เรียนเข้าสู่เนื้อหาได้หลากหลายขึ้น ที่มาของระบบ (Learning Content management system ) LCMS ระบบการจัดการเนื้อหาการเรียน พัฒนามาจากระบบการเรียนรู้ 2 ระบบคือ 1 ระบบการจัดการเรียนรู้ LMS (Learning management system ) ซึ่งสามารถในการนำเนื้อหาการเรียนรู้มารวมกันกลุ่มๆ แล้วนำเข้าสู่ระบบ 2 ระบบการจัดการเนื้อหา CMS ( Content management system ) จุดเด่นคือ สามารถสร้างและจัดเก็บข้อมูล ความแตกต่างของLMS และ LCMS LMS มุ่งเน้นการจัดการเกี่ยวกับผู้เรียน กิจกรรมของผู้เรียน ติดตามความก้าวหน้าและประเมินความสามารถของผู้เรียน LCMS มุ่งเน้นการนำเสนอเนื้อหา การนำเนื้อหากลับมาใช้ใหม่ การจัดการและการปรับปรุงเนื้อหาให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สามารถสรุปได้คือ LCMS ช่วยให้สามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เนื่องจากเนื้อหาออเป็นส่วนย่อยๆ อย่าง Learning object แล้วนำมาประกอบขึ้นใหม่เป็นเนื้อหาเหมาะสมกับความต้องการของผู้เรียนแต่ละบุคคล กล่าวคือส่งความรู้ในปริมาณที่เพียงพอให้ถูกบุคคลทันเวลาเหมาะสมกับการใช้งาน ก็คือ การทำงานของระบบจัดการเนื้อหาการเรียนรู้

Edmodo

Edmodo คือ เครือข่ายสังคมออนไลน์สำหรับ ครู นักเรียน โรงเรียน หรือสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ที่มีระบบรักษาความปลอดภัย สามารถติดต่อสื่อสาร ทำงานร่วมกัน แบ่งปันเนื้อหา สามารถเข้าถึงการบ้าน สมุดเกรด เป้าหมายสำคัญของ Edmodo คือ การใช้ประสิทธิภาพของเครือข่ายสังคมออนไลน์ เพื่อช่วยให้นักการศึกษาสามารถจัดการห้องเรียนและจัดการนักเรียนทุกคนได้ นักศึกษาจะเริ่มต้นใช้ Edmodo ได้อย่างไร ก่อนที่นักศึกษาจะสร้างบัญชี Edmodo นั้นนักศึกษาจะต้องมีรหัสที่เรียกว่า Group Code ซึ่งเป็นเลข 6 หลัก จากคุณครู เมื่อนักศึกษามีรหัสดังกล่าวแล้ว จะสามารถเข้าเว็บ Edmodo.com ได้ และคลิกปุ่ม I’m student จากนี้นักศึกษาจะสามารถป้อนรหัส Group Code ที่ครูกำหนดให้ แล้วกรอกข้อมูลการสมัครให้ครบถ้วน แล้วคลิกปุ่ม Sign up Edmodo มีค่าใช้จ่ายหรือไม่? ไม่มีค่าใช้จ่าย แจกฟรีสำหรับ นักศึกษาครู และสถานศึกษา ถ้าอยากใช้ Edmodo จะศึกษาคู่มือได้จากที่ไหนบ้าง? • http://help.edmodo.com/ ซึ่งเป็นคู่มือสำหรับครูและนักศึกษา • http://help.edmodo.com/school-district/ สำหรับคู่มือของสถานศึกษา • http://www.kruthaionline.com เราจะเริ่มต้นใช้ Edmodo อย่างไร? เปิดเว็บไซต์ Edmodo.com แล้วคลิกปุ่ม I’m Teacher เพื่อสร้างบัญชี (ไม่เสียค่าใช้จ่าย) กรอกข้อมูลในแบบฟอร์มให้ครบถ้วน เมื่อสร้างบัญชีเสร็จเรียบร้อยแล้ว ระบบจะนำท่านไปยังหน้าหลักของ Edmodo สิ่งแรกที่ต้องทำคือการสร้าง Group ซึ่งจะช่วยให้ครูและนักศึกษาสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ วิธีใช้โดยง่ายอย่างพื้นฐาน http://www.pwschool.ac.th/files/1105031111214912/files/emodo.pdf อ้างอิง http://www.kruthaionline.com/index.php/edmodo

Edmodo

Edmodo คือ เครือข่ายสังคมออนไลน์สำหรับ ครู นักเรียน โรงเรียน หรือสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ที่มีระบบรักษาความปลอดภัย สามารถติดต่อสื่อสาร ทำงานร่วมกัน แบ่งปันเนื้อหา สามารถเข้าถึงการบ้าน สมุดเกรด เป้าหมายสำคัญของ Edmodo คือ การใช้ประสิทธิภาพของเครือข่ายสังคมออนไลน์ เพื่อช่วยให้นักการศึกษาสามารถจัดการห้องเรียนและจัดการนักเรียนทุกคนได้ นักศึกษาจะเริ่มต้นใช้ Edmodo ได้อย่างไร ก่อนที่นักศึกษาจะสร้างบัญชี Edmodo นั้นนักศึกษาจะต้องมีรหัสที่เรียกว่า Group Code ซึ่งเป็นเลข 6 หลัก จากคุณครู เมื่อนักศึกษามีรหัสดังกล่าวแล้ว จะสามารถเข้าเว็บ Edmodo.com ได้ และคลิกปุ่ม I’m student จากนี้นักศึกษาจะสามารถป้อนรหัส Group Code ที่ครูกำหนดให้ แล้วกรอกข้อมูลการสมัครให้ครบถ้วน แล้วคลิกปุ่ม Sign up Edmodo มีค่าใช้จ่ายหรือไม่? ไม่มีค่าใช้จ่าย แจกฟรีสำหรับ นักศึกษาครู และสถานศึกษา ถ้าอยากใช้ Edmodo จะศึกษาคู่มือได้จากที่ไหนบ้าง? • http://help.edmodo.com/ ซึ่งเป็นคู่มือสำหรับครูและนักศึกษา • http://help.edmodo.com/school-district/ สำหรับคู่มือของสถานศึกษา • http://www.kruthaionline.com เราจะเริ่มต้นใช้ Edmodo อย่างไร? เปิดเว็บไซต์ Edmodo.com แล้วคลิกปุ่ม I’m Teacher เพื่อสร้างบัญชี (ไม่เสียค่าใช้จ่าย) กรอกข้อมูลในแบบฟอร์มให้ครบถ้วน เมื่อสร้างบัญชีเสร็จเรียบร้อยแล้ว ระบบจะนำท่านไปยังหน้าหลักของ Edmodo สิ่งแรกที่ต้องทำคือการสร้าง Group ซึ่งจะช่วยให้ครูและนักศึกษาสามารถติดต่อสื่อสารกันได้ วิธีใช้โดยง่ายอย่างพื้นฐาน http://www.pwschool.ac.th/files/1105031111214912/files/emodo.pdf อ้างอิง http://www.kruthaionline.com/index.php/edmodo

Moodle

Moodle คืออะ ไร ? Moodle ย่อมาจาก Modular Object-Oriented Dynamic Learning Environment คือ ระบบจัดการเรียนการสอนในระบบออนไลน์ให้มีบรรยากาศเหมือน เรียนในห้องเรียน หรือเรียกว่าLMS (Learning Management S ystem) หรือระบบจัดคอร์สการเรียนการสอน CMS(Course Management System ผ่านระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต อินทราเน็ต สำหรับสถาบันการศึกษา หรือครู ใช้เพื่อเตรียมแหล่งข้อมูล กิจกรรม และเผยแพร่แบบออนไลน์ผ่านอินเทอร์เน็ต หรืออินทราเน็ต Moodle สามารถนำไปใช้ได้ ทั้งองค์กรระดับ มหาวิทยาลัย โรงเรียน สถาบัน หรือครูสอนพิเศษ โปรแกรมชุดนี้เป็น Open Source ภายใต้ข้อตกลงของ gnu.org (General Public License) สามารถ download ได้ฟรีจาก http://moodle.org ผู้พัฒนาโปรแกรมคือ Martin Dougiamas สถาบันการศึกษาใดต้องการนำไปใช้ จัดระบบการเรียนการสอน จะต้องอาศัยผู้ดูแลระบบ( Admin) ที่ความสามารถในการติดตั้ง โดยที่ต้องมี Web Server ที่บริการภาษา php และ mysql ความสามารถของ moodle 1. เป็นโปรแกรมจัดการเรียนการสอนผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ประเภทฟรีแวร์ ที่ได้รับการยอมรับกันทั่วโลก 2. สามารถเป็นได้ทั้ง CMS (Course Management System) และ LMS (Learning Management System) ช่วยรวบรวมวิชาเป็นหมวดหมู่ เผยแพร่เนื้อหา ของผู้สอน พร้อมบริการให้นักเรียนเข้ามาศึกษา และบันทึกกิจกรรมของนักเรียน 3. สามารถสร้างแหล่งข้อมูลใหม่ หรือเผยแพร่เอกสารที่ทำไว้ เช่น Microsoft Office, Web Page, PDF หรือ Image เป็นต้น ใจกว้าง ไม่หวงวิชา มีเอกสารที่เคยรวบรวมไว้ ก็ส่งเข้าไปเผยแพร่ได้โดยง่าย 4. มีระบบติดต่อสื่อสาร ระหว่างนักเรียน เพื่อนร่วมชั้น และผู้สอน เช่น chat หรือ webboard เป็นต้น นักเรียนฝากคำถาม ครูทิ้งคำถามไว้ ครูนัดสนทนาแบบออนไลน์ ครูนัดสอนเสริม หรือแจกเอกสารให้อ่านก่อน เข้าเรียน ก็ได้ 5. มีระบบแบบทดสอบ รับการบ้าน และกิจกรรม ที่รองรับระบบ ให้คะแนนที่หลากหลาย ให้ส่งงาน ให้ทำแบบฝึกหัด ตรวจให้คะแนนแล้ว export ไป excel 6. สำรองข้อมูลเป็น . zip แฟ้มเดียว ในอนาคตสามารถนำไปกู้คืน ลงไปในเครื่องใดก็ได้ ข้อมูลประกอบการตัดสินใจเลือกใช้ Moodle • องค์ประกอบของ moodle ที่โรงเรียนควรมี 1. มี Web Browser เช่น Internet explorer ในการติดต่อกับ moodle ทั้งโดยครูผู้สอนและนักเรียน 2. มี Web Server ที่ให้บริการ php และ mysql 3. มี ผู้ติดตั้ง ผู้ดูแล และบำรุงรักษา ควรทำโดยนักคอมพิวเตอร์ ที่ที่มีประสบการณ์ เกี่ยวกับการติดตั้ง การบำรุงรักษา และการเขียนเว็บ 4. มี ครู นักเรียน และผู้บริหาร ที่ยอมรับในเทคโนโลยีสมัยใหม่ ดังนั้น moodle ไม่เหมาะกับเด็กอนุบาล หรือครูที่ไม่มีไฟ 5. มี การเชื่อมต่อเป็นระบบเครือข่าย เช่น อินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต ( LAN) ผู้ที่เกี่ยวข้องกับ Moodle 1. ผู้ดูแลระบบ (Admin) : ติดตั้งระบบ บำรุงรักษา กำหนดค่าเริ่มต้น และกำหนด สิทธ์การเป็นครูผู้สอน 2. ผู้สอน ( Teacher) : เพิ่มแหล่งข้อมูล เพิ่มกิจกรรม ให้คะแนน ตรวจสอบกิจกรรมผู้เรียน ตอบคำถาม และติดต่อสื่อสาร 3. ผู้เรียน ( Student) : เข้าศึกษาแหล่งข้อมูล และทำกิจกรรม ตามแผนการสอน 4. ผู้เยี่ยมชม ( Guest) : เข้าเรียนได้เฉพาะวิชาที่อนุญาต และจำกัดสิทธ์ ในการทำกิจกรรม แหลงขอมูล หรือกิจกรรม (Resource and Activities) 1. Wiki (สารานุกรม ที่ยอมใหผูเรียนเขามาแกไข) 2. อภิธานศัพท (Glossary : รวมคําศัพท จัดหมวดหมู สามารถสืบคนได) 3. หองสนทนา (Chat : หองที่สามารถนัดเวลาสนทนาระหวางครู และนักเรียน) 4. กระดานเสวนา (Forum : กระดานใหครู และนักเรียนเขามาฝากความคิดเห็น) 5. การบาน (Assignment : ที่นกเรั ียนพิมพงานแลวนํามา upload สงครู) 6. หองปฏิบัติการ (Workshop : ที่นักเรียนทํางาน แลวสง ซึ่งประเมินไดหลายแบบ) 7. ปายประกาศ (Label : แสดงขอความ เพื่อประกาศใหทราบ) 8. แบบทดสอบ (Quiz : สรางคลังขอสอบ แลวเลือกมาใหทําบางสวน ระบบสามารถอัตโนมัติ) 9. โพลล (Poll : แสดงความคิดเห็นตามตัวเลือก) 10. แหลงขอมูล (Resources : text, html, upload, weblink, webpage, program) กิจกรรมของผูสอน (Teacher Activities) 1. ผูสอนสรางคอรส และกําหนดลักษณะของคอรสดวยตนเอง 2. เพิ่ม เอกสาร บทเรียน และลําดับเหตุการณตามความเหมาะสม 3. ประกาศขาวสาร หรือนัดสนทนา กับนักเรียนผานอินเทอรเน็ต 4. สามารถสํารองขอมูลในวิชา เก็บเปนแฟมเพียงแฟมเดียวได 5. สามารถกูคืนขอม ูลที่เคยสํารองไว หรือนําไปใชในเครื่องอื่น 6. สามารถดาวนโหลดคะแนนนักเรียนที่ถูกบันทึกจากการทํากิจกรรม ไปใชใน Excel 7. กําหนดกลุมนักเรียน เพื่อสะดวกในการจัดการนักเรียนจํานวนมาก 8. สั่งยกเลิกการเปนสมาชิกในวิชา ของนักเรียนที่มีความประพฤติไมเหมาะสม หรือเขาผิดวิชา 9. ตรวจสอบกิจกรรมของนักเรียนแตละคน เชน ความถี่ในการอานแตละบท หรือคะแนนในการสอบแตละบท 10. เพิ่มรายการนัดหมาย หรือกิจกรรม แสดงดวยปฏิทิน 11. สรางเนื้อหาใน SCORM หรือสรางขอสอบแบบ GIFT แลวนําเขาได กิจกรรมของผูเรียน (Student Activities) สมัครสมาชิกดวยตัวนักเรียนเอง 1. รออนุมัติการเปนสมาชิก และสมัครเขาเรียนแตละวิชาดวยตนเอง (บางระบบ สามารถสมัคร และเขาเรียนไดทันที) 2. อานเอกสาร หรือบทเรียน ที่ผูสอนกําหนดใหเขาไปศึกษาตามชวงเวลาท่เหมาะสม ี 3. ฝากคําถาม หรือขอคิดเห็น หรือนัดสนทนาระหวางเพื่อน ผานเครือขายอินเทอรเน็ต 4. ทํากิจกรรมตามที่ไดรับมอบหมาย เชน ทําแบบฝกหัด หรือสงการบาน 5. แกไขขอมูลสวนตัวของตนเองได 6. อานประวัติของครู เพื่อนนักเรียนในชั้น หรือในกลุม อ้างอิง : http://banlat.ac.th/web/home/computer/cai/cai/moodle.htm http://learn.pbru.ac.th/file.php/1/What_is_Moodle.pdf

วันพฤหัสบดีที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2557

Cloud

Cloud Cloud คือการทำงานร่วมกันของเซิร์ฟเวอร์จำนวนมาก โดยแบ่งชั้นการประมวลผลออกจากชั้นเก็บข้อมูล ซึ่งการแบ่งนี้แต่ละที่อาจจะแบ่งได้หลายชั้นซึ่งขึ้นอยู่กับการ Design ในแต่ละองค์กร 1. ชั้นการประมวลผล (Computing layer) เป็นการร่วมกันทำงานของเซิร์ฟเวอร์จำนวนมาก หากมีเซิร์ฟเวอร์ใดเสียหาย ก็จะไม่มีผลกับการใช้งานของผู้ใช้งานระบบ เพราะมันจะสวิทช์การทำงานไปยังเซิร์ฟเวอร์ตัวอื่นแทนโดยอัตโนมัติในทันที เว็บหรือเซิร์ฟเวอร์เสมือน หรือ ฯลฯ จะทำงานประมวลผลในชั้นนี้ ซึ่งระบบจะแบ่งทรัพยากร CPU, Memory ให้ตามจำนวนที่ท่านใช้งาน และแยกทรัพยากรกับงานอื่น ๆ หรือระบบอื่น ๆ อย่างชัดเจน พร้อมมี Firewall ป้องกันระบบของท่านจากผู้ใช้อื่นด้วย 2. ชั้นเก็บข้อมูล (Storage layer) เป็นการทำงานร่วมกันของระบบเก็บข้อมูลแบบ SAN (Storage network) ที่มีความเสถียร และความเร็วสูง โดยสามารถย้ายไปใช้งาน SAN (Storage network)สำรองได้ทันทีที่เกิดเหตุขัดข้องเสียหายของอุปกรณ์หลัก โดยส่วนใหญ่จะใช้ SAN (Storage network) อย่างน้อย 2 ตัว ซึ่งมีข้อมูลที่เหมือนกัน (Replicate) ตลอดเวลา ข้อมูลต่าง ๆ จะถูกเก็บไว้ที่ชั้นนี้ เครือข่ายเน็ตเวิร์คความเร็วสูง จะเป็นตัวเชื่อมระหว่างชั้นการประมวลผล และชั้นเก็บข้อมูล เพื่อให้มั่นใจว่าสามารถรับส่งข้อมูลได้อย่างทันใจตลอดเวลา ระบบ Cloud บางแบบยังรองรับการขยายหรือหดตัวโดยอัตโนมัติสำหรับเซิร์ฟเวอร์เสมือน เมื่อการใช้งานเพิ่มหรือลด ตามที่ได้กำหนดไว้ ดังนั้น ด้วยระบบ Cloud แท้จริง โดยการทำงานร่วมกันของเซิร์ฟเวอร์จำนวนมาก และการแยกส่วนของการทำงานแบบเป็นระบบนี้ ทำให้การทำงานของเว็บหรือเซิร์ฟเวอร์เสมือน ไม่ติดขัดและมั่นใจได้ตลอดเวลา แตกต่างจากเว็บโฮสติ้ง หรือ เซิร์ฟเวอร์ธรรมดาทั่วไป ที่หากเกิดการติดขัดเสียหายของอุปกรณ์นั้น ๆ ก็จะทำให้การทำงานหยุดลงโดยไม่มีระบบทดแทน ประโยชน์ของคลาวด์ที่เห็นได้อย่างชัดเจน ได้แก่ เพิ่มความคล่องตัว ลดค่าใช้จ่าย เสริมความยืดหยุ่น มีความปลอดภัยและพร้อมนำไปใช้งาน แต่ซีอีโอและผู้นำทางธุรกิจอาจต้องการพิจารณาด้านอื่นๆ ของการประมวลผลด้วยคลาวด์ที่จำเป็นให้ครบถ้วน ก่อนจะถึงกระบวนการพัฒนา เช่น ประเด็นด้านความปลอดภัย และการอินทิเกรตบริการคลาวด์เข้ากับระบบไอทีเดิมที่มีอยู่ เป็นต้น เมื่อความต้องการใช้งานระบบคอมพิวเตอร์มีเพิ่มสูงขึ้น ทำให้ศูนย์คอมพิวเตอร์ต้องดูแลรักษาคอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์จำนวนมาก หลาย องค์กรมองหาโซลูชั่นส์ที่ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายและลดภาระเรื่องการดูแลรักษา ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์อันเป็นสินทรัพย์ที่มีมูลค่าสูงขององค์กร ดังนั้น ระบบประมวลผลที่สามารถจัดสรรทรัพยากรได้อย่างรวดเร็ว สอดคล้องกับความต้องการทางธุรกิจเป็นสิ่งสำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจของยุค ปัจจุบัน Cloud Computing เป็น Business Model รูปแบบใหม่ของการให้บริการด้านไอที เพราะ ด้วยรูปแบบการประมวลผลที่อ้างอิงกับความต้องการของผู้ใช้และวิธีการจัดเก็บ ค่าบริการตามการใช้งาน ภายใต้การทำงานของซอฟต์แวร์ที่สามารถเพิ่มและลดทรัพยากรได้ตามความเหมาะสม ด้วยวิธีการที่ไม่ยุ่งยากและไม่ซับซ้อน จะช่วยให้ท่านบริหารจัดการงานไอทีได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยประโยชน์ทางธุรกิจที่สำคัญของคลาวด์มีด้วยกันสองด้าน คือ ประโยชน์ด้านการเงิน และประโยชน์ด้านการตอบสนอง ประโยชน์ด้านการตอบสนอง คลาวด์ช่วยให้องค์กรมั่นใจในการตอบสนองตามความต้องการทางธุรกิจ ด้วย: ทรัพยากรสำหรับประมวลผลและระบบมีพร้อมใช้งานได้ทันทีตามความต้องการทางธุรกิจเข้าดึงคลาวด์ได้หลากหลายช่องทาง จึงมั่นใจได้ว่าข้อมูลและแอพพลิเคชันจะพร้อมใช้งานได้จากทุกที่ทุกเวลา การลดค่าใช้ของระบบ Cloud ก็คงมาดูพื้นฐานของการใช้งานระบบคอมพิวเตอร์ของหน่วยงาน องค์กรต่างๆ ว่าถ้าเรามีบริษัท หรือทำงานในบริษัทที่มีพนักงานตั้งแต่ 5-6 คน ไปจนถึงบริษัทขนาดใหญ่มีหลายร้อยคน สิ่งหนึ่งที่ปัจจุบันเราต้องมีก็คือเครื่องคอมพิวเตอร์ และเมื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ต้องทำงานร่วมกัน เช่น 1. มีการรับส่งไฟล์ ใช้ไฟล์ร่วมกัน เช่นข้อมูลยอดขาย ข้อมูล stock สินค้า ไฟล์ presentation ต่างๆ 2. มีการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปต่างๆ ภายในองค์กร ตั้งแต่ ระบบ mail ระบบบัญชีการเงิน ระบบ crmก็จะเห็นว่าการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงกันภายในองค์กร จำเป็นต้องมีเครื่อง server และห้องคอมพิวเตอร์เก็บเครื่อง server โดยที่บริษัทที่มีขนาดใหญ่ จะมี server จำนวนมาก มีการลงทุนในระบบ server และห้อง data center นี้หลายล้านบาท ถือเป็น fixed cost ในการลงทุน หรือเรียกว่า capex เวลาเราทำงบประมาณ – capital expenditure ดังนั้น แนวคิดของ cloud computing ส่วนหนึ่ง ก็จะเป็นการหาแนวทางในการลดค่าใช้จ่ายต่างๆ เหล่านี้ ซึ่งแนวคิดเรื่องการลด Capex กับ Opexก็ไม่ได้เป็นเรื่องใหม่อะไร แนวคิดที่มีมานานหลายปีแล้วก็คือเรื่องของการ outsourcing หลักการโดยสรุปของ outsourcing มีอยู่ 2 ประเด็นใหญ่ๆ ก็คือ การ แบ่งส่วนงานที่เราไม่เชี่ยวชาญ ไปให้มืออาชีพที่มีความรู้ด้านนี้มาทำแทนเรา แทนที่จะต้องเสียเงินไปจ้างพนักงานประจำเงินเดือนแพงๆ แต่ใช้งานได้ไม่คุ้มค่า เพราะเนื้องานที่ต้องทำมีไม่มากพอการลดการ ลงทุนเริ่มต้น ซึ่งในงานบางงานถ้าต้องทำเองเราอาจจะต้องมีการลงทุนเริ่มต้นด้วยเงินจำนวน มาก เราก็ใช้วิธีเช่าบริการจากหน่วยงานที่ให้บริการเฉพาะด้าน แล้วจ่ายเป็นค่าบริการรายเดือนไป เช่นการทำห้องเครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งต้องลงทุนหลายล้านบาท ก็เปลี่ยนไปใช้บริการผู้ให้บริการ Data center ซึ่งเสียค่าเช่าต่อเดือนในระดับหมื่นบาท ก็จะเป็นการลดค่าใช้จ่ายได้มาก

การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เขียนบนมกราคม 30, 2014 การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ถือเป็นช่วงเวลาที่ท้าท้ายความสามารถของมนุษยชาติ เพราะเป็นยุคที่โลกต้องเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และข้อมูลข่าวสารทุกอย่างก็ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงรอบตัวเราอีกต่อไป แค่เพียงคลิกที่ปลายนิ้ว เราก็สามารถก้าวข้ามพรมแดนไปได้ทุกซอกทุกมุมโลก ซึ่งแวดวงทางการศึกษาทั่วโลกต่างก้าวพ้นรูปแบบการเรียนการสอนที่ใช้ครูเป็นศูนย์กลาง มาเป็นการเรียนรู้ในแบบกระบวนทัศน์ใหม่ เรียกได้ว่าเป็นการจัดการศึกษายุคฐานแห่งเทคโนโลยี หรือ Technology Based Paradigm ในขณะทีประเทศไทยได้เล็งเห็นความสำคัญและมุมมองของการเตรียมเด็กไทยสู่ศตวรรษที่ 21 ในประเด็นดังต่อไปนี้ คุณลักษณะของเด็กไทยในศตวรรษที่ 21 จะต้องมีคุณลักษณะที่สำคัญ 3 ประการ ประการแรก คือ มีทักษะที่หลากหลาย เช่น สามารถทำงานร่วมกับคนเยอะ ๆ ได้อย่างรวดเร็ว รับผิดชอบงานได้ด้วยตนเอง และรู้จักพลิกแพลงกระบวนการแก้ไขปัญหาได้ ประการที่สอง คือ มองโลกใบนี้เป็นโลกใบเล็ก ๆ ไม่ได้จำกัดขอบเขตอยู่เฉพาะประเทศไทย เพื่่อมองหาโอกาสใหม่ ๆ ที่มีอยู่อย่างมากมาย ประการสุดท้าย คือ เด็กไทยยุคใหม่ต้องมีทักษะด้านภาษา การศึกษาในศตวรรษที่ 21 ครูจะต้องปรับแนวทางการเรียนการสอน (pedagogy) โดยครูจะต้องทำให้เด็กรักที่จะเรียนรู้ตลอดชีวิต และมีเป้าหมายในการสอนที่จะทำให้เด็กมีทักษะชีวิต ทักษะการคิด และทักษะด้านไอที ซึ่งไอทีในที่นี้ไม่ได้หมายถึง ใช้คอมพิวเตอร์เป็นหรือใช้ไอแพดเป็น แต่หมายถึงการที่เด็กรู้ว่า เมื่อเขาอยากรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่งเขาจะไปตามหาข้อมูล (data) เหล่านั้นได้ที่ไหน และเมื่อได้ข้อมูลมาเด็กต้องวิเคราะห์ได้ว่าข้อมูลเหล่านั้นมีความน่าเชื่อถือเพียงใด และสามารถแปลงข้อมูลเป็นความรู้ (knowledge) ได้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ต้องเกิดจากการฝึกฝน ครูจะต้องให้เด็กได้มีโอกาสทดลองด้วยตนเอง The Flipped Classroom หรือ การเรียนแบบ “พลิกกลับ” คือ วิธีการเรียนแนวใหม่ที่ฉีกตำราการสอนแบบเดิม ๆ ไปโดยสิ้นเชิงและกำลังได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ ในโลกปัจจุบันที่ “การศึกษา” และ “เทคโนโลยี” แทบจะเป็นส่วนหนึ่งของกันและกัน Flipped Classroom เป็นการเรียนแบบ “กลับหัวกลับหาง” หรือ “พลิกกลับ” โดยเปลี่ยนรูปแบบวิธีการสอนจากแบบเดิมที่เริ่มจากครูผู้สอนในห้องเรียน นักเรียนกลับไปทำการบ้านส่ง เปลี่ยนเป็นนักเรียนเป็นผู้ค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง ผ่าน “เทคโนโลยี” ที่ครูจัดหาให้ก่อนเข้าชั้นเรียน และมาทำกิจกรรม โดยมีครูคอยแนะนำในชั้นเรียนแทน ในต่างประเทศ วิธีการสอนแบบ “พลิกกลับ” กำลังเป็นที่แพร่หลายในวงกว้างมากขึ้น โดยสิ่งที่เป็นหัวใจสำคัญของ Flipped Classroom นี้ก็คือ การใช้เทคโนโลยี การเรียนการสอนที่ทันสมัย และการให้นักเรียนได้มีโอกาสเรียนรู้ผ่านกิจกรรม ซึ่งทั้งสองส่วนนี้จะกระตุ้นให้เกิดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้อย่างเต็มที่ ในรูปแบบการเรียนการสอนวิธีนี้ ถือว่าเป็นการเรียนการสอนที่เน้นในรูปธรรมให้นักเรียนได้เห็นและปฏิบัติจากประสบการณ์จริง ซึ่งจะทำให้นักเรียนมีการจดจำและเกิดทักษะการเรียนรู้ได้ดีกว่าที่เรียนแบบนามธรรม แต่ในมุมมองอีกด้านหนึ่งที่กว่าจะสอนให้นักเรียนรู้จักวิเคราะห์ เลือกใช้สื่อที่ถูกต้อง รู้จักเลือกศึกษาค้นคว้าในเรื่องต่าง ๆ ที่ตนเองสนใจนั้น ก็จะมีสื่อที่ไม่เหมาะสมกับนักเรียนก็จะแทรกอยู่บนหน้าจอเหมือนกัน ดังนั้นในการใช้สื่อต่าง ๆในด้านของไอที ก็ควรที่แนะนำให้เข้าใจอย่างแท้จริงและในระยะแรกก็ต้องมีผู้คอยให้คำแนะนำที่ดีไม่ว่าจะเป็นผู้ปกครอง ครูต้องมีส่วนร่วมกันสร้างภูมิคุ้มกันให้กับนักเรียนด้วยเหมือนกัน