วันพฤหัสบดีที่ 27 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

LMS และ CLMS

CMS และ LMS CMS คืออะไร ความหมายของ Content Management System (CMS) ระบบการจัดการเนื้อหาของเว็บไซต์ (Content Management System : CMS) คือ ระบบที่พัฒนา คิดค้นขึ้นมาเพื่อช่วยลดทรัพยากรในการพัฒนา(Development) และบริหาร(Management)เว็บไซต์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของกำลังคน ระยะเวลา และเงินทอง ที่ใช้ในการสร้างและควบคุมดูแลไซต์โดยส่วนใหญ่แล้ว มักจะนำเอา ภาษาสคริปต์(Script languages) ต่างๆมาใช้ เพื่อให้วิธีการทำงานเป็นแบบอัตโนมัติ ไม่ว่าจะเป็น PHP, Perl, ASP, Python หรือภาษาอื่นๆ(แล้วแต่ความถนัดของผู้พัฒนา) ซึ่งมักต้องใช้ควบคู่กันกับโปรแกรมเว็บเซิร์ฟเวอร์(เช่น Apache) และดาต้าเบสเซิร์ฟเวอร์(เช่น MySQL) ลักษณะเด่นของ CMS ก็คือ มีส่วนของ Administration panel(เมนูผู้ควบคุมระบบ) ที่ใช้ในการบริหารจัดการส่วนการทำงานต่างๆในเว็บไซต์ ทำให้สามารถบริหารจัดการเนื้อหาได้อย่างรวดเร็ว และเน้นที่การ จัดการระบบผ่านเว็บ(Web interface) ในลักษณะรูปแบบของ ระบบเว็บท่า(Portal Systems) โดยตัวอย่างของฟังก์ชันการทำงาน ได้แก่ การนำเสนอบทความ(Articles), เว็บไดเรคทอรี(Web directory), เผยแพร่ข่าวสารต่างๆ(News), หัวข้อข่าว(Headline), รายงานสภาพดินฟ้าอากาศ(Weather), ข้อมูลข่าวสารที่น่าสนใจ(Informations), ถาม/ตอบปัญหา(FAQs), ห้องสนทนา(Chat), กระดานข่าว(Forums), การจัดการไฟล์ในส่วนดาวน์โหลด(Downloads), แบบสอบถาม(Polls), ข้อมูลสถิติต่างๆ(Statistics) และส่วนอื่นๆอีกมากมาย ที่สามารถเพิ่มเติม ดัดแปลง แก้ไขแล้วประยุกต์นำมาใช้งานให้เหมาะสมตามแต่รูปแบบและประเภทของเว็บไซต์นั้นๆ ตัวอย่างของเว็บที่สร้างจาก CMS •Slashdot=>พัฒนาด้วย Perl Zope=>พัฒนาด้วย Python PHP-Nuke =>พัฒนาด้วย PHP Joomla =>พัฒนาด้วย PHP ได้รับความนิยมมากในปัจจุบัน การประยุกต์ใช้ CMS ระบบ CMS สามารถนำมาประยุกต์ในงานต่างๆ หลากหลาย ตัวอย่างการนำซอฟต์แวร์ CMS มาประยุกต์ใช้งาน อาทิเช่น >> การนำ CMS มาใช้ในการสร้างเว็บไซต์สถาบันการศึกษา ธุรกิจบันเทิง หนังสือพิมพ์ การเงิน การธนาคาร หุ้นและการลงทุน อสังหาริมทรัพย์ งานบุคคล งานประมูล สถานที่ท่องเที่ยว งานให้บริการลูกค้า >> การนำ CMS มาใช้ในหน่วยงานของรัฐ อาทิเช่น งานข่าว งานประชาสัมพันธ์ การนำเสนองานต่างๆ ขององค์กร >> การใช้ CMS สร้างไซต์ ส่วนตัว ชมรม สมาคม สมาพันธ์ โดยวิธีการแบ่งงานกันทำ เป็นส่วนๆ ทำให้ เกิดความสามัคคี ทำให้มีการทำงานเป็นทีมเวิร์คมากยิ่งขึ้น >> การนำ CMS มาใช้ในการสร้างเว็บไซต์สำหรับธุรกิจ SME โดยเฉพาะสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ หรือ OTOP กำลังได้รับความนิยมสูง >> การนำ CMS มาใช้แทนโปรแกรมลิขสิทธิ์ อื่นๆ เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย และง่ายต่อการพัฒนา >> การใช้ CMS ทำเป็น Intranet Web Site สร้างเว็บไซต์ใช้ภายในองค์กร ที่มาจากhttp://www.proline.co.th/forum/index.php?topic=147.0 LMS คืออะไร LMS ย่อมาจาก Learning Management System เป็นระบบที่ใช้บริหารจัดการการเรียนรู้ที่อำนวยความสะดวกในการจัดกลุ่มเนื้อหาและกิจกรรมการเรียนรู้ การสื่อสารโต้ตอบระหว่างผู้สอน (Instructor/Teacher) กับผู้เรียน(Student) รวมทั้งการสร้างแบบทดสอบ การทดสอบและการประเมินผลบนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต โดยโปรแกรมที่ใช้สร้างระบบ LMS ในปัจจุบันมีให้เลือกอยู่ 2 ลักษณะคือ 1.ซอฟต์แวร์ฟรี (Open Source LMS) ที่มีลิขสิทธิ์แบบ GPL เช่น Claroline (www.claroline.net), LearnSquare (www.learnsquare.com), VClasswww.vclass.net), Sakai (www.sakaiproject.org), ILIAS (http://www.ilias.de) 2. ซอฟต์แวร์ที่บริษัทเอกชนพัฒนาเพื่อขายโดยเฉพาะ (Commercial LMS) เช่น • Blackboard Learning System ตัวอย่างการใช้งานที่ Sasin Chula , WebCT (www.webct.com) , IBM Lotus Learning Management System , Education Sphere (www.educationsphere.com) - Sum Systems Management Co., Ltd. , Dell Learning System (DLS) > www.dell.com ,De-Learn (www.de-learn.com) - Data E-Learning Co., Ltd. , i2 LMS (www.progress-info.co.th) - Progress Information Co.,Ltd การนำระบบ LMS ไปประยุกต์ใช้งาน ระบบ LMS สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้อย่างหลากหลายอาทิ สถาบันการศึกษา ศูนย์ฝึกอบรม หน่วยงานราชการ บริษัทเอกชน โดยในการนำไปใช้งานผู้ใช้สามารถ ปรับการใช้งานให้เหมาะสมกับหน่วยงาน จุดประสงค์หลักในการพัฒนาระบบขึ้นมาก็เพื่อสร้างระบบการเรียนรู้ใช้งานในหน่วยงานทั้งระบบ E-Learning หรือระบบ Knowledge Management(KM) ผู้ใช้งานในระบบ LMS สำหรับผู้ใช้งานในระบบ LMS นั้นสามารถที่จะแบ่งได้เป็น 3 กลุ่ม คือ • กลุ่มผู้บริหารระบบ (Administrator) ทำหน้าที่ในการติดตั้งระบบ LMS การกำหนดค่าเริ่มต้นของระบบ การสำรองฐานข้อมูล การกำหนดสิทธิ์การเป็นผู้สอน • กลุ่มอาจารย์หรือผู้สร้างเนื้อหาการเรียน (Instructor / Teacher) : ทำหน้าที่ในการเพิ่มเนื้อหา บทเรียนต่างๆ เข้าระบบ อาทิ ข้อมูลรายวิชา ใบเนื้อหา เอกสารประกอบการสอน การประเมินผู้เรียนโดยใช้ข้อสอบ ปรนัย อัตนัย การให้คะแนน ตรวจสอบกิจกรรมผู้เรียน ตอบคำถาม และสนทนากับนักเรียน • กลุ่มผู้เรียน(Student/Guest) : หมายถึงนักเรียน นักศึกษา ที่สมัครเข้าเรียนตามหัวข้อต่าง ๆ รวมทั้งการทำแบบฝึกหัด ตามที่ได้รับมอบหมายจากผู้สอน โดยอาจารย์สามารถทำการแบ่งกลุ่มผู้เรียนได้ และสามารถตั้งรหัสผ่านในการเข้าเรียนแต่ละวิชาได้ มาตรฐานระบบ E-Learning กระทรวงกลาโหมสหรัฐอเมริกา(DOD) ได้ศึกษาปัญหาของความไม่เข้ากัน (Incompatibility) ของระบบอีเลิร์นนิ่ง และเนื้อหาวิชา ที่พัฒนาแตกต่าง แพลตฟอร์มกัน ไม่สามารถใช้ร่วมกันได้ ทางกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ จึงรวบรวมข้อกำหนด ที่พัฒนาก่อนหน้ามาเข้าด้วยกัน ทั้งของ IMS และ AICC เพื่อที่จะออกเป็นข้อกำหนด อีเลิร์นนิ่งกลาง และมีการตั้งหน่วยงานร่วมมือกันระหว่างกระทรวงกลาโหมสหรัฐฯ หน่วยงานรัฐบาล ภาคเอกชนและภาคการศึกษา จัดตั้งสถาบันที่เรียกว่า ADL (Advanced Distributed Learning) เมื่อปี 1997 และได้ออกข้อกำหนดแรกในเวอร์ชั่น 1.0 เมื่อปี 2000 แต่เวอร์ชั่นที่ประสบความสำเร็จเป็นที่ยอมรับกันทั่วไปคือ ข้อกำหนด SCORM Version 1.2 ซึ่งออกเมื่อเดือนตุลาคมปี 2001 ดังนั้นในการสร้างระบบ LMS ขึ้นมาไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาระบบขึ้นมาใช้งานเอง ซื้อจากบริษัทเอกชน หรือใช้ซอฟต์แวร์สำเร็จรูปประเภท Open Source จำเป็นต้องยึดตามมาตรฐานกลางคือ SCORM (Sharable Content Object Reference Model) คำศัพท์ที่เกี่ยวข้อง • CAI (Computer Assisted Instruction) คอมพิวเตอร์ช่วยสอน • CBT (Computer Based Training) คอมพิวเตอร์ช่วยในการอบรม • WBI (Web Based Instruction) เว็บช่วยสอน • WBT (Web Based Training) เว็บช่วยในการอบรม • CMS (Content Management System) ระบบบริหารจัดการเนื้อหาบนเว็บไซต์ •LMS (Learning Management System) ระบบบริหารจัดการการเรียนการสอนออนไลน์ • LCMS (Learning Management System) CMS+LMS ระบบบริหารจัดการจัดการเนื้อหาและการเรียนการสอนออนไลน์ • KMS (Knowledge Management System) ระบบบริหารจัดการองค์ความรู้ในองค์กร LCMS : Learning Content Management System Learning Content management system คือระบบจัดการจัดการเนื้อหาการเรียนรู้ เป็นระบบที่มีการบูรณาการในส่วนเครื่องมือการสร้างและจัดการเนื้อหาในระบบ ซึ่งเป็นระบบที่จะช่วยอำนวยความสะดวกให้กับผู้สอนและผู้เรียนในการจัดการสอน ช่วยให้ผู้สอนพัฒนาเนื้อหาออนไลน์เพื่อการนำเสนอในรูปแบบที่เป็นโครงสร้างสามารถปรับเปลี่ยนได้ ช่วยให้ผู้เรียนเข้าสู่เนื้อหาได้หลากหลายขึ้น ที่มาของระบบ (Learning Content management system ) LCMS ระบบการจัดการเนื้อหาการเรียน พัฒนามาจากระบบการเรียนรู้ 2 ระบบคือ 1 ระบบการจัดการเรียนรู้ LMS (Learning management system ) ซึ่งสามารถในการนำเนื้อหาการเรียนรู้มารวมกันกลุ่มๆ แล้วนำเข้าสู่ระบบ 2 ระบบการจัดการเนื้อหา CMS ( Content management system ) จุดเด่นคือ สามารถสร้างและจัดเก็บข้อมูล ความแตกต่างของLMS และ LCMS LMS มุ่งเน้นการจัดการเกี่ยวกับผู้เรียน กิจกรรมของผู้เรียน ติดตามความก้าวหน้าและประเมินความสามารถของผู้เรียน LCMS มุ่งเน้นการนำเสนอเนื้อหา การนำเนื้อหากลับมาใช้ใหม่ การจัดการและการปรับปรุงเนื้อหาให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น สามารถสรุปได้คือ LCMS ช่วยให้สามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เนื่องจากเนื้อหาออเป็นส่วนย่อยๆ อย่าง Learning object แล้วนำมาประกอบขึ้นใหม่เป็นเนื้อหาเหมาะสมกับความต้องการของผู้เรียนแต่ละบุคคล กล่าวคือส่งความรู้ในปริมาณที่เพียงพอให้ถูกบุคคลทันเวลาเหมาะสมกับการใช้งาน ก็คือ การทำงานของระบบจัดการเนื้อหาการเรียนรู้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น