วันพฤหัสบดีที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2557

Cloud

Cloud Cloud คือการทำงานร่วมกันของเซิร์ฟเวอร์จำนวนมาก โดยแบ่งชั้นการประมวลผลออกจากชั้นเก็บข้อมูล ซึ่งการแบ่งนี้แต่ละที่อาจจะแบ่งได้หลายชั้นซึ่งขึ้นอยู่กับการ Design ในแต่ละองค์กร 1. ชั้นการประมวลผล (Computing layer) เป็นการร่วมกันทำงานของเซิร์ฟเวอร์จำนวนมาก หากมีเซิร์ฟเวอร์ใดเสียหาย ก็จะไม่มีผลกับการใช้งานของผู้ใช้งานระบบ เพราะมันจะสวิทช์การทำงานไปยังเซิร์ฟเวอร์ตัวอื่นแทนโดยอัตโนมัติในทันที เว็บหรือเซิร์ฟเวอร์เสมือน หรือ ฯลฯ จะทำงานประมวลผลในชั้นนี้ ซึ่งระบบจะแบ่งทรัพยากร CPU, Memory ให้ตามจำนวนที่ท่านใช้งาน และแยกทรัพยากรกับงานอื่น ๆ หรือระบบอื่น ๆ อย่างชัดเจน พร้อมมี Firewall ป้องกันระบบของท่านจากผู้ใช้อื่นด้วย 2. ชั้นเก็บข้อมูล (Storage layer) เป็นการทำงานร่วมกันของระบบเก็บข้อมูลแบบ SAN (Storage network) ที่มีความเสถียร และความเร็วสูง โดยสามารถย้ายไปใช้งาน SAN (Storage network)สำรองได้ทันทีที่เกิดเหตุขัดข้องเสียหายของอุปกรณ์หลัก โดยส่วนใหญ่จะใช้ SAN (Storage network) อย่างน้อย 2 ตัว ซึ่งมีข้อมูลที่เหมือนกัน (Replicate) ตลอดเวลา ข้อมูลต่าง ๆ จะถูกเก็บไว้ที่ชั้นนี้ เครือข่ายเน็ตเวิร์คความเร็วสูง จะเป็นตัวเชื่อมระหว่างชั้นการประมวลผล และชั้นเก็บข้อมูล เพื่อให้มั่นใจว่าสามารถรับส่งข้อมูลได้อย่างทันใจตลอดเวลา ระบบ Cloud บางแบบยังรองรับการขยายหรือหดตัวโดยอัตโนมัติสำหรับเซิร์ฟเวอร์เสมือน เมื่อการใช้งานเพิ่มหรือลด ตามที่ได้กำหนดไว้ ดังนั้น ด้วยระบบ Cloud แท้จริง โดยการทำงานร่วมกันของเซิร์ฟเวอร์จำนวนมาก และการแยกส่วนของการทำงานแบบเป็นระบบนี้ ทำให้การทำงานของเว็บหรือเซิร์ฟเวอร์เสมือน ไม่ติดขัดและมั่นใจได้ตลอดเวลา แตกต่างจากเว็บโฮสติ้ง หรือ เซิร์ฟเวอร์ธรรมดาทั่วไป ที่หากเกิดการติดขัดเสียหายของอุปกรณ์นั้น ๆ ก็จะทำให้การทำงานหยุดลงโดยไม่มีระบบทดแทน ประโยชน์ของคลาวด์ที่เห็นได้อย่างชัดเจน ได้แก่ เพิ่มความคล่องตัว ลดค่าใช้จ่าย เสริมความยืดหยุ่น มีความปลอดภัยและพร้อมนำไปใช้งาน แต่ซีอีโอและผู้นำทางธุรกิจอาจต้องการพิจารณาด้านอื่นๆ ของการประมวลผลด้วยคลาวด์ที่จำเป็นให้ครบถ้วน ก่อนจะถึงกระบวนการพัฒนา เช่น ประเด็นด้านความปลอดภัย และการอินทิเกรตบริการคลาวด์เข้ากับระบบไอทีเดิมที่มีอยู่ เป็นต้น เมื่อความต้องการใช้งานระบบคอมพิวเตอร์มีเพิ่มสูงขึ้น ทำให้ศูนย์คอมพิวเตอร์ต้องดูแลรักษาคอมพิวเตอร์เซิร์ฟเวอร์จำนวนมาก หลาย องค์กรมองหาโซลูชั่นส์ที่ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายและลดภาระเรื่องการดูแลรักษา ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์อันเป็นสินทรัพย์ที่มีมูลค่าสูงขององค์กร ดังนั้น ระบบประมวลผลที่สามารถจัดสรรทรัพยากรได้อย่างรวดเร็ว สอดคล้องกับความต้องการทางธุรกิจเป็นสิ่งสำคัญในการขับเคลื่อนธุรกิจของยุค ปัจจุบัน Cloud Computing เป็น Business Model รูปแบบใหม่ของการให้บริการด้านไอที เพราะ ด้วยรูปแบบการประมวลผลที่อ้างอิงกับความต้องการของผู้ใช้และวิธีการจัดเก็บ ค่าบริการตามการใช้งาน ภายใต้การทำงานของซอฟต์แวร์ที่สามารถเพิ่มและลดทรัพยากรได้ตามความเหมาะสม ด้วยวิธีการที่ไม่ยุ่งยากและไม่ซับซ้อน จะช่วยให้ท่านบริหารจัดการงานไอทีได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยประโยชน์ทางธุรกิจที่สำคัญของคลาวด์มีด้วยกันสองด้าน คือ ประโยชน์ด้านการเงิน และประโยชน์ด้านการตอบสนอง ประโยชน์ด้านการตอบสนอง คลาวด์ช่วยให้องค์กรมั่นใจในการตอบสนองตามความต้องการทางธุรกิจ ด้วย: ทรัพยากรสำหรับประมวลผลและระบบมีพร้อมใช้งานได้ทันทีตามความต้องการทางธุรกิจเข้าดึงคลาวด์ได้หลากหลายช่องทาง จึงมั่นใจได้ว่าข้อมูลและแอพพลิเคชันจะพร้อมใช้งานได้จากทุกที่ทุกเวลา การลดค่าใช้ของระบบ Cloud ก็คงมาดูพื้นฐานของการใช้งานระบบคอมพิวเตอร์ของหน่วยงาน องค์กรต่างๆ ว่าถ้าเรามีบริษัท หรือทำงานในบริษัทที่มีพนักงานตั้งแต่ 5-6 คน ไปจนถึงบริษัทขนาดใหญ่มีหลายร้อยคน สิ่งหนึ่งที่ปัจจุบันเราต้องมีก็คือเครื่องคอมพิวเตอร์ และเมื่อเครื่องคอมพิวเตอร์ต้องทำงานร่วมกัน เช่น 1. มีการรับส่งไฟล์ ใช้ไฟล์ร่วมกัน เช่นข้อมูลยอดขาย ข้อมูล stock สินค้า ไฟล์ presentation ต่างๆ 2. มีการใช้โปรแกรมสำเร็จรูปต่างๆ ภายในองค์กร ตั้งแต่ ระบบ mail ระบบบัญชีการเงิน ระบบ crmก็จะเห็นว่าการทำงานของระบบคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมโยงกันภายในองค์กร จำเป็นต้องมีเครื่อง server และห้องคอมพิวเตอร์เก็บเครื่อง server โดยที่บริษัทที่มีขนาดใหญ่ จะมี server จำนวนมาก มีการลงทุนในระบบ server และห้อง data center นี้หลายล้านบาท ถือเป็น fixed cost ในการลงทุน หรือเรียกว่า capex เวลาเราทำงบประมาณ – capital expenditure ดังนั้น แนวคิดของ cloud computing ส่วนหนึ่ง ก็จะเป็นการหาแนวทางในการลดค่าใช้จ่ายต่างๆ เหล่านี้ ซึ่งแนวคิดเรื่องการลด Capex กับ Opexก็ไม่ได้เป็นเรื่องใหม่อะไร แนวคิดที่มีมานานหลายปีแล้วก็คือเรื่องของการ outsourcing หลักการโดยสรุปของ outsourcing มีอยู่ 2 ประเด็นใหญ่ๆ ก็คือ การ แบ่งส่วนงานที่เราไม่เชี่ยวชาญ ไปให้มืออาชีพที่มีความรู้ด้านนี้มาทำแทนเรา แทนที่จะต้องเสียเงินไปจ้างพนักงานประจำเงินเดือนแพงๆ แต่ใช้งานได้ไม่คุ้มค่า เพราะเนื้องานที่ต้องทำมีไม่มากพอการลดการ ลงทุนเริ่มต้น ซึ่งในงานบางงานถ้าต้องทำเองเราอาจจะต้องมีการลงทุนเริ่มต้นด้วยเงินจำนวน มาก เราก็ใช้วิธีเช่าบริการจากหน่วยงานที่ให้บริการเฉพาะด้าน แล้วจ่ายเป็นค่าบริการรายเดือนไป เช่นการทำห้องเครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งต้องลงทุนหลายล้านบาท ก็เปลี่ยนไปใช้บริการผู้ให้บริการ Data center ซึ่งเสียค่าเช่าต่อเดือนในระดับหมื่นบาท ก็จะเป็นการลดค่าใช้จ่ายได้มาก

การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21

การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 เขียนบนมกราคม 30, 2014 การเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ถือเป็นช่วงเวลาที่ท้าท้ายความสามารถของมนุษยชาติ เพราะเป็นยุคที่โลกต้องเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และข้อมูลข่าวสารทุกอย่างก็ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงรอบตัวเราอีกต่อไป แค่เพียงคลิกที่ปลายนิ้ว เราก็สามารถก้าวข้ามพรมแดนไปได้ทุกซอกทุกมุมโลก ซึ่งแวดวงทางการศึกษาทั่วโลกต่างก้าวพ้นรูปแบบการเรียนการสอนที่ใช้ครูเป็นศูนย์กลาง มาเป็นการเรียนรู้ในแบบกระบวนทัศน์ใหม่ เรียกได้ว่าเป็นการจัดการศึกษายุคฐานแห่งเทคโนโลยี หรือ Technology Based Paradigm ในขณะทีประเทศไทยได้เล็งเห็นความสำคัญและมุมมองของการเตรียมเด็กไทยสู่ศตวรรษที่ 21 ในประเด็นดังต่อไปนี้ คุณลักษณะของเด็กไทยในศตวรรษที่ 21 จะต้องมีคุณลักษณะที่สำคัญ 3 ประการ ประการแรก คือ มีทักษะที่หลากหลาย เช่น สามารถทำงานร่วมกับคนเยอะ ๆ ได้อย่างรวดเร็ว รับผิดชอบงานได้ด้วยตนเอง และรู้จักพลิกแพลงกระบวนการแก้ไขปัญหาได้ ประการที่สอง คือ มองโลกใบนี้เป็นโลกใบเล็ก ๆ ไม่ได้จำกัดขอบเขตอยู่เฉพาะประเทศไทย เพื่่อมองหาโอกาสใหม่ ๆ ที่มีอยู่อย่างมากมาย ประการสุดท้าย คือ เด็กไทยยุคใหม่ต้องมีทักษะด้านภาษา การศึกษาในศตวรรษที่ 21 ครูจะต้องปรับแนวทางการเรียนการสอน (pedagogy) โดยครูจะต้องทำให้เด็กรักที่จะเรียนรู้ตลอดชีวิต และมีเป้าหมายในการสอนที่จะทำให้เด็กมีทักษะชีวิต ทักษะการคิด และทักษะด้านไอที ซึ่งไอทีในที่นี้ไม่ได้หมายถึง ใช้คอมพิวเตอร์เป็นหรือใช้ไอแพดเป็น แต่หมายถึงการที่เด็กรู้ว่า เมื่อเขาอยากรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่งเขาจะไปตามหาข้อมูล (data) เหล่านั้นได้ที่ไหน และเมื่อได้ข้อมูลมาเด็กต้องวิเคราะห์ได้ว่าข้อมูลเหล่านั้นมีความน่าเชื่อถือเพียงใด และสามารถแปลงข้อมูลเป็นความรู้ (knowledge) ได้ ซึ่งสิ่งเหล่านี้ต้องเกิดจากการฝึกฝน ครูจะต้องให้เด็กได้มีโอกาสทดลองด้วยตนเอง The Flipped Classroom หรือ การเรียนแบบ “พลิกกลับ” คือ วิธีการเรียนแนวใหม่ที่ฉีกตำราการสอนแบบเดิม ๆ ไปโดยสิ้นเชิงและกำลังได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อย ๆ ในโลกปัจจุบันที่ “การศึกษา” และ “เทคโนโลยี” แทบจะเป็นส่วนหนึ่งของกันและกัน Flipped Classroom เป็นการเรียนแบบ “กลับหัวกลับหาง” หรือ “พลิกกลับ” โดยเปลี่ยนรูปแบบวิธีการสอนจากแบบเดิมที่เริ่มจากครูผู้สอนในห้องเรียน นักเรียนกลับไปทำการบ้านส่ง เปลี่ยนเป็นนักเรียนเป็นผู้ค้นคว้าหาความรู้ด้วยตนเอง ผ่าน “เทคโนโลยี” ที่ครูจัดหาให้ก่อนเข้าชั้นเรียน และมาทำกิจกรรม โดยมีครูคอยแนะนำในชั้นเรียนแทน ในต่างประเทศ วิธีการสอนแบบ “พลิกกลับ” กำลังเป็นที่แพร่หลายในวงกว้างมากขึ้น โดยสิ่งที่เป็นหัวใจสำคัญของ Flipped Classroom นี้ก็คือ การใช้เทคโนโลยี การเรียนการสอนที่ทันสมัย และการให้นักเรียนได้มีโอกาสเรียนรู้ผ่านกิจกรรม ซึ่งทั้งสองส่วนนี้จะกระตุ้นให้เกิดสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้อย่างเต็มที่ ในรูปแบบการเรียนการสอนวิธีนี้ ถือว่าเป็นการเรียนการสอนที่เน้นในรูปธรรมให้นักเรียนได้เห็นและปฏิบัติจากประสบการณ์จริง ซึ่งจะทำให้นักเรียนมีการจดจำและเกิดทักษะการเรียนรู้ได้ดีกว่าที่เรียนแบบนามธรรม แต่ในมุมมองอีกด้านหนึ่งที่กว่าจะสอนให้นักเรียนรู้จักวิเคราะห์ เลือกใช้สื่อที่ถูกต้อง รู้จักเลือกศึกษาค้นคว้าในเรื่องต่าง ๆ ที่ตนเองสนใจนั้น ก็จะมีสื่อที่ไม่เหมาะสมกับนักเรียนก็จะแทรกอยู่บนหน้าจอเหมือนกัน ดังนั้นในการใช้สื่อต่าง ๆในด้านของไอที ก็ควรที่แนะนำให้เข้าใจอย่างแท้จริงและในระยะแรกก็ต้องมีผู้คอยให้คำแนะนำที่ดีไม่ว่าจะเป็นผู้ปกครอง ครูต้องมีส่วนร่วมกันสร้างภูมิคุ้มกันให้กับนักเรียนด้วยเหมือนกัน

โปรแกรม Microsoft Zoom It

โปรแกรม Microsoft Zoom It ZoomIt เป็นโปรแกรมอรรถประโยชน์ตัวหนึ่งที่น่าสนใจ เหมาะสำหรับการนำเสนอหรือสาธิตการใช้งานซอฟต์แวร์ เราสามารถใช้ ZoomIt โดยไม่ต้องติดตั้งซอฟต์แวร์แต่ประการใด เพียงเรียกใช้โปรแกรมก็สามารถนำมาช่วยการสาธิตใช้งานด้วยคีย์ลัด (hotkeys) เพื่อขยายส่วนต่างๆ ให้มีความน่าสนใจ หรือขีดเขียนเป็นวงกลม วงรี สี่เหลี่ยม เขียนข้อความกำกับการอธิบาย หรืออื่นๆ สามารถทำงานได้ทั้ง Platform บน Windows และ tablet PCs วัตถุประสงค์ เพื่อใช้เป็นเหมือนแว่นยาย ช่วยให้สามารถขยายหน้าจอ เพื่อให้ง่ายต่อการอธิบาย Presentation อย่างรวดเร็ว ด้วย Hotkey ที่คุณสามารถกำหนดได้เอง วิธีการใช้ วิธีการใช้งานที่สำคัญ 1. โหมดการขยาย (Zoom) Zoom Tab : Ctrl + 1 ต้องการขยายให้ใช้คีย์ลัด Ctrl + 1 และสามารถหมุนเมาส์ปุ่มกลางเพื่อซูม – ย่อการนำเสนอได้ สำหรบโหมดนี้จะไม่สามารถควบคุมซอฟต์แวร์อื่นๆ ที่เรานำเสนอได้ สามารถหมุนลูกกลิ้งที่เมาส์ (mouse wheel) เดินหน้า-ถอยหลังหรือใช้แป้นลูกศรขึ้น-ลง เพื่อขยายหรือย่อภาพหน้าจอ (zoom-in / zoom-out) ยกเว้นเราจะออกจากการใช้โหมดนี้ก่อน หากต้องการออกจากโหมดนี้ให้ใช้คีย์ลัด Esc หรือคลิกเมาส์ขวาเลือก Exit LiveZoom Tab : Ctrl + 4 สำหรับโหมดนี้จะทำงานบน Platform ของ Vista หรือสูงกว่า โหมดนี้ก็คล้ายกับ Zoom Tab : Ctrl + 2 เมื่อเราใช้งานโหมดนี้ก็จะขยายหน้าจอทันที แล้วสามารถเข้าควบคุมการใช้งานซอฟต์แวร์ต่างๆ ที่เราใช้งานได้ปกติ จะเหมาะสำหรับการขยายหน้าจอค้างไว้ แล้วไม่ต้องเสียเวลาย่อหรือขยาย เราสามารถควบคุมการย่อ-ขยายในโหมดนี้ได้ด้วยใช้คีย์ลัด Ctrl + Up หรือใช้คีย์ลัด Ctrl + Down 2. โหมดการขีดเขียน (Draw) Draw Tab : Ctrl + 2 เข้าสู่โหมดการวาดโดยไม่เข้าสู่โหมดซูม ใช้คีย์ลัด Ctrl + 2 และหากต้องการออกจากโหมดนี้ให้ใช้คีย์ลัด Esc เข้าสู่โหมด Zoom Tab : Ctrl + 1 เราสามารถวาดสิ่งต่างได้โดยคลิกเมาส์ปุ่มซ้ายก็จะเข้าสู่โหมดการวาดทันที คลิกเมาส์ปุ่มซ้าย เพื่อเข้าสู่โหมดการขีดเขียน (Draw) คลิกเมาส์ปุ่มซ้ายค้างไว้ แล้วลากเมาส์ เพื่อขีดเขียนได้ตามต้องการ (Freehand) กดแป้น Ctrl+Z เพื่อลบสิ่งที่ขีดเขียนล่าสุด กดแป้น e เพื่อลบทุกสิ่งที่ขีดเขียนลงไป กดแป้นเว้นวรรค เพื่อให้เคอร์เซอร์มาอยู่ตรงกลางจอ กดแป้น Esc หรือคลิกเมาส์ปุ่มขวา เพื่อออกจากโหมดการขีดเขียน การเปลี่ยนสีปากกา กดแป้น r (Red) เพื่อเปลี่ยนสีปากกาเป็น สีแดง กดแป้น g (Green) เพื่อเปลี่ยนสีปากกาเป็น สีเขียว กดแป้น b (Blue) เพื่อเปลี่ยนสีปากกาเป็น สีน้ำเงิน กดแป้น o (Orange) เพื่อเปลี่ยนสีปากกาเป็น สีส้ม กดแป้น y (Yellow) เพื่อเปลี่ยนสีปากกาเป็น สีเหลือง กดแป้น p (Pink) เพื่อเปลี่ยนสีปากกาเป็น สีชมพู การเขียนรูปทรง กดแป้น Shift ค้างไว้ ขณะลากเมาส์ เมื่อต้องการขีด เส้นตรง กดแป้น Ctrl ค้างไว้ ขณะลากเมาส์ เมื่อต้องการวาดรูป สี่เหลี่ยม กดแป้น Tap ค้างไว้ขณะลากเมาส์ เมื่อต้องการวาด วงกลม กดแป้น Shift+Ctrl ค้างไว้ ขณะลากเมาส์ เมื่อต้องการเขียน เส้นหัวลูกศร การล้างหน้าจอ (Clear Screen) เพื่อจะขีดเขียนข้อความใดๆ กดแป้น w เพื่อให้หน้าจอเป็นพื้นสีขาว กดแป้น k เพื่อให้หน้าจอเป็นพื้นสีดำ กดแป้น Ctrl+S เพื่อบันทึกภาพหน้าจอที่เขียนไว้ กดแป้น Ctrl+C เพื่อคัดลอกหน้าจอ (สำหรับเวอร์ชัน 3.0 ขึ้นไป Type Tab เมื่อเข้าสู่โหมดการวาด เราสามารถพิมพ์ข้อความได้ ใช้คีย์ลัด t ถ้าต้องการออกจากการพิมพ์ ใช้คีย์ลัด Esc หรือคลิกเมาส์ปุ่มซ้าย นอกจากนี้เราสามารถกำหนดความเข้ม จางของอักษร ใช้การหมุนเมาส์กลางขึ้นลง Break Tab : Ctrl+3 เป็นคีย์ลัดเมื่อต้องการล้างหน้าจอ และแสดง Counter โดยสามารถกำหนดได้ว่าจะจับเวลากี่วินาทีได้ และสามารถกำหนดสีอักษรได้เช่นเดียวกับที่กล่าวข้างต้น และสามารถออกจากโหมดนี้ได้ ใช้คีย์ลัด Esc 3. โหมดการพิมพ์ (Type) ในขณะที่อยู่ในโหมดการขีดเขียน กดแป้น t เพื่อเข้าสู่โหมดการพิมพ์ กดแป้น Esc หรือคลิกเมาส์ปุ่มขวา เพื่อออกจากโหมดการพิมพ์ หมุนลูกกลิ้งที่เมาส์ (mouse wheel) เดินหน้า-ถอยหลัง หรือใช้แป้นลูกศรขึ้น-ลง เพื่อปรับขนาดตัวอักษร ประโยชน์ต่อครูและนักเรียน 1.สามารถทำให้ครูใช้ประกอบการบรรยายในการเรียนการสอนโดยใช้โปรแกรม 2.ครูสามารถจับเวลาในการจัดกิจกรรมประกบการบรรยายได้ โดยไม่ต้องใช้อุปกรณ์นอก 3.ผู้เรียนสามารถนำเสนอชิ้นงาน หรือสาธิตการใช้งาน ประกอบการบรรยาย โดยใช้โปรแกรมผ่านคีย์ลัด 4.ครูสามารถใช้โปรแกรมนี้ประกอบกับเมาส์ปากกาประกอบการสอนหรือการบรรยาย แทนการใช้เครื่องฉายทึบแสงซึ่งทำให้เสียเวลาในการเปลี่ยนโปรแกรมการใช้ 5.ผู้เรียนสามารถอธิบายในสิ่ง หรือข้อมูลที่มีขนาดเล็กซึ่งลดปัญหาการมองไม่ชัดของภาพได้

โปรแกรม Microsoft Calculator Plus

โปรแกรม Microsoft Calculator Plus เป็นโปรแกรมคำนวณโดยใช้เครื่องคิดเลขอิเล็กทรอนิกส์ จากโปรแกรม Microsoft Calculator Plus ซึ่งใช้เป็นเครื่องคำนวณหรือคิดเลขธรรมดา ตลอดจน การคำนวณในเชิงลึกทั้งทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ โปรแกรมในการแปลงค่าหน่วยต่างๆที่มีความแตกต่างกัน ทั้งหน่วยความยาว น้ำหนัก ความสูง อุณหภูมิ ฯลฯ มี วัตถุประสงค์ เพื่อ ใช้ในคำนวณหรือคิดเลขธรรมดา ตลอดจน การคำนวณในเชิงลึกทั้งทางคณิตศาสตร์และวิทยาศาสตร์ โปรแกรมในการแปลงค่าหน่วยต่างๆ ที่มีหน่วยแตกต่างกัน ประโยชน์ต่อครูและนักเรียน 1.สามารถช่วยในการคำนวณค่า หรือหาค่าในการตั้งโจทย์เพื่อให้นักเรียนคิด 2.นักเรียนสามารถตรวจคำตอบของโจทย์ได้จากโปรแกรมคำนวณ หากครูผู้สอนไม่ได้เฉลย 3.ผู้เรียนสามารถศึกษาหน่วยการแปลงค่า จากค่าที่ได้เพื่อง่ายในการเปรียบ